การใช้เกม


              เกมเป็นหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนโดยเฉพาะเกมภาษาอังกฤษซึ่งภาษาอังกฤษมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนอยู่เสมอ เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาระหว่างชาติที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกการใช้เกมประกอบการสอนภาษาอังกฤษจะช่วยทำให้ผู้เรียนสนุกสนานกับบทเรียน ไม่น่าเบื่อ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนฝึกความกล้าในการใช้ภาษา ทำให้ผู้เรียนมีความมั่นใจเมื่อนำภาษาอังกฤษไปใช้ในชีวิตประจำวัน และช่วยให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษด้วย ส่วนประกอบของเกมได้แก่ ชื่อเกม จุดมุ่งหมาย การแบ่งกลุ่ม อุปกรณ์ และข้อเสนอแนะในการเล่นเกมผู้สอนและผู้เล่นควรดัดแปลงแต่ละเกมให้เหมาะสมกับสภาพห้องเรียน ระดับความรู้ และความสามารถของผู้เรียนด้วย
ประเภทของเกม
เนื่องจากการเรียนการสอรนภาษาอังกฤษในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามแนวความคิดเกี่ยวกับการสอนและวิธีสอน ที่เห็นได้ชัดคือ การเปลี่ยนจากการเน้นถึง การเรียนรู้ กฎเกณฑ์ของภาษา มาเป็นภาษาเพื่อการสื่อสาร เกมภาษาแบ่งได่ 2 ประเภทคือ
      1.Communicative Games เกมนี้มีจุดประสงค์ให้ผูเรียนสื่อสาร สนทนา แลกเปลี่ยน หรือปรับปรุงแต่งข้อมูล โดยใช้โครงสร้าง ภาษาหรือคำศัพท์ที่กำหนดให้
       2.Non-communicative Games เกมนี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้รับความสนุกสนาน คลายความเคลียด ส่วนใหญ่เกมเหล่านี้จะเน้นในรูปการแข่งขัน มีผู้แพ้ ผู้ชนะ
l2thai.org/sara/sara131.htm
ลักษณะของเกม
       1.ควรเป็นเกมที่ต้องทำเป็นกลุ่ม ตั้งแต่กลุ่มเล็กที่สุดคือ 2 คน (pair work)กลุ่มใหญ่ 5-6 คน จนถึงกลุ่มที่ร่วมกันทั้งชั้น (whole class)
       2.เกมที่นำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนภาษา ควรเน้นตัวผู้เรียนเป็นหลัก
       3.ช่วยลดภาระของครูในการเตรียมการสอนให้น้อยลง
       4.ควรเป็นเกมที่มีลักษณะที่กระตุ้น เร้าใจผู้เรียนอยากมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ
       5.เกมที่เลือกมาใช้ประกอบการสอนมีความยากง่าย เหมาะกับระดับความสามารถของผู้เรียน
แนวทางในการใช้เกม
       1.ทำความคุ้นเคยกับเกมมาก่อนนำไปใช้ประกอบการสอน โดยอ่านกติกาเล่นหลายๆครั้ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดี
       2.เลือกใช้ให้เหมาะสมกับขั้นตอนการสอน โดยพิจารณาว่าควรใช้เกมใดในขั้นตอนใด
       3.อธิบายวิธีการเล่นเกมแก่ผู้เรียนอย่างชัดเจน จงตระหนักเสมอว่าเด็กทุกคนในชั้นเรียนเข้าใจวิธีการเล่น
       4.ควรแสดงวิธีการเล่นด้วยตนเอง โดยยืนอยู่หน้าชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนทั้งชั้นมองเห็นอย่างทั่วถึง
       5.ควรปฏิบัตัตามกติกาที่กำหนดไว้ในแต่ละเกมอย่างเคร่งครัด
       6.ควบคุมเกมในขณะที่เล่นอย่าให้ผู้เล่นส่เสียงดังมากเกินไป ทำให้ระเบียบวินัยของห้องเรียนเสีย
       7.สังเกตปฏิกริยาของผู้เรียนแต่ละคนในขณะที่เล่น ไม่ควรติเตียนผู้กระทำผิดอย่างรุนแรง
       8.อย่าเล่นเกมนั้นนานจนเกินไป แต่ละเกมควใช้เวลา 8-10 นาที
       9.อย่าใช้เกมบางอย่างบ่อยนัก เพราะจะทำให้ผู้เรียนไม่กระตือรือร้นในการเล่น
       10.ศึกษาข้อเสนอแนะของเกมแต่ละอัน เพื่อดัดแปลงวิธีเล่นให้สอดคล้องตามสภาพการเรียนการสอน
ขั้นตอนในการใช้เกม
       1.ขั้นเลือก ควรคำนึงถึงภาษาที่ใช้ ควรเหมาะกับระดับความสามารถของผู้เรียนและขนาดของชั้นเรียนด้วย
       2.ขั้นเตรียมการ เตรียมการใช้เกมก่อนล่วงหน้าเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่จะใช้ในการเล่นเกม
       3.ขั้นการใช้เกม อธิบายวัตถุประสงค์ของเกม และวิธีการเล่น พร้อมทั้งกำหนดกติกาอย่างชัดเจน เพื่อให้เกมเป็นไปอย่างมีระเบียบ จากนั้นลงมือเล่นเกม โดยแบ่งกลุ่มตามความเหมาะสม
       4.ขั้นประเมินผล ถ้าหากการเล่นเกมเป็นแบบลักษณะการแข่งขัน ควรให้คะแนนสำหรับกลุ่มที่ทำได้ถูกต้องโดยการเขียนคะแนนบนกระดาน กลุ่มใดที่ทำผิดพลาดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ประโยชน์ของการใช้เกม
       1.ช่วยสร้างบรรยากาศของการเรียนการสอนให้สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ คลายความเครียดจากบทเรียนประวัน
       2.ช่วยทบทวนบทเรียนต่างๆ เช่น โครงสร้างประโยค คำศัพท์ เป็นต้น
       3.เปิดโอกาสให้เด็ดได้ฝึกทักษะเบื้องต้นคือ ฟัง-พูด โดยการเอาความรู้ที่เรียนมาใช้ในสถานการณืจำลองต่างๆ
       4.เกมบางอย่างเป็นแรงจูงใจ ในการนำเข้าสู่บทเรียนของเนื้อหาบางประเภทได้
       5.ช่วยให้นักดรียนมีทัศนคตที่ดีต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
       6.ช่วยให้นัดชกเรียนรู้จักทำงานร่วมกัน ในกรณีเกมที่เล่นเป็นกลุ่ม

สุรางค์ สากร  ได้เสนอแนะในการใช้เกมประกอบการสอนไว้ดังนี้
1. ครูต้องเข้าใจกติกาการเล่นเป็นอย่างดี
2. การสอนทุกครั้งควรกวดขันเรื่องกติกา มารยาท ความยุติธรรม และความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
3. การอธิบายเกี่ยวกับกติกาการเล่น ควรใช้เวลาให้น้อยที่สุด และเลือกนักเรียนคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งมาลองซ้อมความเข้าใจให้ดูก่อน
4. กำหนดเวลาการเล่นให้เหมาะสมและติดตามดูว่านักเรียนเกิดทักษะและความรู้ตามจุดประสงค์หรือไม่
5. การเล่นเกมหากนักเรียนมีจำนวนมากควรแบ่งกลุ่ม เพื่อเปิดโอกาส ให้นักเรียนทุกคนได้ร่วมกิจกรรมอย่างทั่วถึง และการแบ่งกลุ่มควรแบ่งให้แต่ละกลุ่มมีความสามารถเท่า ๆ หรือใกล้เคียงกันเพื่อความสมดุล การแข่งขันจึงจะตื่นเต้นและเกิดกำลังใจในการเล่น
6. ควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดหาอุปกรณ์การเล่นหรือส่งเสริมให้นักเรียนลองคิดหาเกมที่จะนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนองบ้าง



ที่มา : กิดานันท์ มลิทอง.เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.กรุงเทพฯ:จุฬา-
ลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2540.
วิไลพร ธนสุวรรณ.เกมประกอบการสอนภาษาอังกฤษ.คณะศึกษา
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ,มปป.