การใช้สื่อการสอน








การใช้สื่อการสอน










1. ใช้สื่อการสอนในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ทั้งนี้เพื่อเร้าผู้เรียนให้เกิดความสนใจ และเปลี่ยนพฤติกรรมในเบื้องต้น โดยปรับตนเองให้พร้อมที่จะเรียนรู้บทเรียนใหม่ ซึ่งอาจกระทำได้โดยการรื้อฟื้นความรู้เดิม (assimilation) หรือขยายความรู้เดิม (accommodation) เพื่อนำมาใช้ให้ประสานกันกับความรู้ใหม่ ซึ่งจะเรียนในขั้นต่อไป
2. ใช้สื่อการสอนในขั้นประกอบการสอนหรือขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ความกระจ่างในเนื้อหาที่เรียนหรือทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและเข้าใจข้อเท็จจริงในเนื้อหาอย่างแท้จริงในรูปของการเกิด Concept เข้าใจหลักการสำคัญ และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้นตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้
3. ใช้สื่อการสอนเพื่อขยายขอบเขตความรู้ของผู้เรียนให้ก้าวหน้าและเจริญงอกงามทั้งในด้านความกว้างและความลึกของภูมิปัญญา ซึ่งเป็นผลของการเรียนอย่างแท้จริง
4. ใช้สื่อการสอนเพื่อย่อสรุปเนื้อหาสำคัญของบทเรียนเกิดเป็น Concept ในเนื้อหาแต่ละเรื่อง
5. ใช้สื่อการสอนเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีการฝึกและพัฒนาตนเองให้รู้จักขั้นตอนและมีความคิดสร้างสรรค์ (Control and Creativity)


เทคนิคต่างๆในการใช้สื่อการเรียนการสอน
ปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆมาใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งสื่อต่างๆก็แตกต่างกันออกไปในการใช้งาน ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะต้องสามารถเลือกสื่อที่จะใช้ในการสอนให้ตรงตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอน เมื่อเลือกสื่อการเรียนการสอนได้เหมาะสมแล้ว มิได้หมายความว่าสื่อนั้นจะช่วยให้กระบวนการเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายเสมอไป สื่อการสอนที่เลือกมาจะมีคุณค่ามากน้อยเพียงใด นอกจากขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะตัวอุปกรณ์เองแล้ว ยังขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่นหลายประการ โดยเฉพาะเทคนิคการใช้ของครูแต่ละคนมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ผู้สอนจะต้องรู้ว่าจะใช้สื่อแต่ละชนิดเมื่อไหร่ อย่างไร จึงจะได้ผลเต็มที่ สื่อแต่ละชนิดมีเทคนิคการใช้ไม่เหมือนกัน ผู้ใช้จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะการใช้ และต้องเตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะด้วย จึงจะเกิดผลดี
การใช้สื่อการเรียนการสอนให้ได้ผลดี โดยทั่วไปมี 4 ขั้นตอนนั้นก็คือ ขั้นเลือก ขั้นเตรียม ขั้นใช้ และขั้นวัดประเมินผล
ขั้นเลือกสื่อการเรียนการสอน


การเลือกสื่อการเรียนการสอนนับว่ามีความสำคัญมาก สื่อการเรียนการสอนมีหลายประเภท หลายชนิด การนำเอามาใช้ต้องเลือกให้เหมาะสมจึงจะเกิดประโยชน์เต็มที่เป็นหน้าที่ของผู้สอนที่จะต้องพิจารนาตัดสินใจ การเลือกสื่อมีหลักเกณฑ์คือ ต้องเลือกสื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ ว่าจะนำสื่อไปใช้ในด้านใด เช่น จะนำมาใช้ประกอบคำอธิบาย หรือเพื่อสรุปบทเรียน สื่อแต่ละประเภทที่สร้างขึ้นมา ผู้สร้างจะต้องมีเป้าหมายที่แน่นอน การเลือกสื่อต้องให้สอดคล้องกับเนือ้หา ว่าตัวสื่อนั้นมุ่งให้ข้อมูลในด้านใด ให้เนื้อหาสาระตรงตามเนื้อหาที่จะสอนหรือไม่ ต่อมาต้องเลือกสื่อที่น่าสนใจ ต้องพิจารนาในด้านตัวอักษร และความปราณีต สิ่งเหล่านี้นจะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ทำให้การเรียนการสอนดำเนินไปด้วยบรรยากาศที่สนุกสนาน ขั้นตอนต่อไปต้องเลือกสื่อให้เหมาะสมกับวัยผู้เรียน เหมาะกับสติปัญญา ความสามารถ ความต้องการ และประสบการณ์เดิมของผู้เรียน และการเลือกสื่อต้องเหมาะกับการใช้และการเก็บรักษา สื่อที่เหมาะต่อการสอนต้องไม่ยุ่งยากต่อการใช้ ให้ผลคุ้มค่า ไม่เสียเวลา เก็บรักษาง่าย ใช้ทน กะทัดรัด ถ้าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสาธิต หรือการทอลองต้องมีประสิทธิภาพ เวลาใช้งานต้องไม่เกิดข้อผิดพลาด
ขั้นวางแผนเตรียมการใช้สื่อ


อย่างแรกตัองเตรียมตัวผู้สอน คือตัวผู้สอนต้องทำความรู้จักกับสื่อการเรียนการสอนในด้านลักษณะ องค์ประกอบ หน้าที่การทำงาน เนื้อหา เพื่อสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ถ้าเป็นรูปภาพ แผนภูมิ แผนภาพ ต้องอธิบายได้ ถ้าเป็นภาพยนตร์ต้องเข้าใจเรื่องราวเป็นอย่างดี ถ้าเป็นเครื่องมือต้องรู้จักองค์ประกอบ หน้าที่ของส่วนต่างๆตลอดจนรู้วิธีใช้งานเมื่อทำความรู้จักกับสื่อแล้วต้องวางแผนการใช้สือ โดยพิจารณาร่วมกับระบบการสอนว่า จะใช้สิ่งใด เมื่อไหร่ อย่างไร จะบังเกิดผลดีที่สุด โดยกำหนดขั้นตอนการใช้ไว้อย่างชัดเจน เมื่อผู้สอนทำความรู้จักกับสื่อเสร็จก็มาถึงขั้นเตรียมสื่อการเรียนการสอน คือให้ตรวจสภาพสื่อว่าอยู่ในสภาพพร้อมที่จะนำไปใช้โดยไม่เกิดปัญหา เตรียมจำนวนสื่อให้เพียงพอกับจำนวนผู้เรียน เตรียมสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องใช้ควบคู่กับสื่อการเรียนการสอน เพื่อสะดวกต่อการใช้หรือการนำออกแสดง
ผู้เรียน


ผู้เรียนต้องเตรียมตัวเองก่อนเรียนหรือเตรียมบางสิ่งบางอย่างมาเอง เช่นผู้สอนจะบอกล่วงหน้าว่า เตรียมวัสดุบางอย่างเช่น เตรียมเศษผ้าหรือ เชือกมา หรือเตรียมก่อนทำการสอน คือผู้สอนมีความจำเป็นที่จะต้องอธิบายการใช้สื่อ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สถานที่


ตัองเตรียมห้องเรียนให้สอดคล้องกับการใช้สื่อ เช่นจัดโต๊ะจัดเก้าอี้ให้เหมาะสม ตรวจสภาพความพร้อมด้านต่างๆที่มีผลกระทบต่อการใช้สื่อ เช่น การใช้เครื่องฉายภาพ ต้องตรวจปลั๊กไฟ การระบายอากาศ การควบคุมแสงภาพในห้อง
ขั้นนำสื่อไปใช้ตามแผน


ต้องใช้สื่อการสอนตามแผนที่กำหนดไว้ โดยปฏิบัติตามขั้นตอน ตามวิธีการและเวลาที่กำหนดไว้ สื่อบางชนิดใช้ในการนำเข้าสู่บทเรียน บางชนิดใช้ประกอบคำอธิบาย บางชนิดใช้สรุป บางชนิดใช้ในการประเมินผล จึงควรคำนึงถึงเทคนิคการใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ต่อไปก็จะเป็นการจัดสภาพสื่อดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ คือการควบคุมชั้นเรียนให้มีระเบียบวินัย พยายามให้ทุกคนมองเห็นได้ชัดเจน ให้เวลาเพื่อทำความเข้าใจพอสมควรหยุดบรรยายเมื่อมีเสียงรบกวนจากภายนอก เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้สื่อให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้ซักถามเมื่อมีปัญหาข้อข้องใจ
ขั้นวัดและประเมินผลการใช้สื่อ


ในขั้นนี้จะทำให้ทราบผลสัมฤทธิ์ในการใช้สื่อ ตามวิธีการที่ผ่านมาว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ได้ผลมากน้อยเพียงใด มีอะไรควรปรับปรุงแก้ไขบ้าง โดยพิจารณาว่า ขั้นตอนการใช้เป็นไปตามแผนหรือไม่ พิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นในการใช้สื่อ อาจใช้วิธีสอบถามผู้เรียน หรืออภิปรายระหว่างผู้สอนและผู้เรียน พิจารณาด้านความเหมาะสมในการนำสื่อดังกล่าวมาใช้ช่วยในการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความชัดเจน ความน่าสนใจ ความพึงพอใจของผู้สอน และผู้เรียน ถามหรือใช้แบบสอบถาม พิจารณาถึงผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนเนื่องจากการใช้สื่อดังกล่าว โดยใช้ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเป้าหมายที่วางไว้


ทุกสิ่งทุกอย่างมีคุณค่าในตัวมันเอง การนำเอามาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนจะได้ผลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ ความเหมาะสม เทคนิคและวิธีการใช้ "ก้อนหินก้อนเดียวถ้านำไปใช้ในสถานการณ์ที่เหมาะสมและถูกต้องจะได้ผลมากกว่าการนำภาพยนตร์ไปใช้อย่างผิดวิธี"


การออกแบบสื่อการสอน
การออกแบบสื่อการสอนการออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน ลักษณะการออกแบบที่ดี (Characteristics of Good Design)
1.ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการทำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น






สื่อวัสดุกราฟิก "สีไม้"
การใช้สี (Colour)
1. คิดก่อนว่า อยากให้รูปภาพที่วาดออกสีโทนร้อนหรือโทนเย็น
สีโทนเย็นแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มที่1 เหลือง เขียวอ่อน เขียวแก่
2. กลุ่มที่2 น้ำเงิน เขียวแก่ เขียวอ่อน
3. กลุ่มที่3 ดำ น้ำเงิน เขียวแก่
4. กลุ่มที่4 ดำ น้ำเงิน เขียวแก่ เขียวอ่อน เหลือง
สีโทนร้อนแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มที่1 เหลือง ส้ม แดง
2. กลุ่มที่2 ส้ม แดง น้ำตาล
3. กลุ่มที่3 แดง น้ำตาล ดำ
4. กลุ่มที่4 เหลือง ส้ม แดง น้ำตาล ดำ


วรรณะของสี (Tone Color)
1. สีโทนร้อน (สื่อตื่นเต้น)
2. สีโทนเย็น (สบายตา)


เทคนิกการใช้สี
1. สีกลมกลืน
2. สีตัดกัน


ทฤษฎีสี
1. ทฤษฎีใกล้กันกมกลืนกัน (ให้ความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนหวาน ราบรื่น เป็นพวกเดียวกัน)
2. สีตัดกัน ทฤษฎีห่างกันตัดกัน (งานดูตื่นเต้น ตระหนก รุนแรง หวาดเสียว ไม่เข้ากัน)
3. Hue + White = Tint คือ สีแท้ + สีขาว ใช้ในกรณีที่ต้องการให้งานชิ้นนั้นดูสบายตา
นุ่มนวล กว้างขวาง และเป็นกันเอง
4. Hue + Black = Shade คือ สีแท้ + สีดำ ใช้ในกรณีที่ต้องการทำให้ชิ้นงานนั้นดูลึกลับ
น่ากลัว หนักแน่น แคบ


การผลิตสื่อการสอน
1. สำรวจความต้องการ การผลิตสื่อเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง จะต้องสำรวจความต้องการของผู้ใช้ ความต้องการของผู้ใช้อาจจะได้มาจากการแสดงความต้องการของผู้ใช้โดยตรง หรือจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสำรวจ
2. กำหนดเป้าหมายการผลิต เมื่อทราบความต้องการของผู้ใช้แล้ว ก็จะนำเอาความต้องการมาประเมิน จัดลำดับความสำคัญ แล้วกำหนดเป้าหมายการผลิต
3. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายย่อมมีความแตกต่างกันในด้านคุณลักษณะบางประการ ผู้ผลิตจะต้องศึกษาแนวโน้มความแตกต่างของกลุ่มในด้านต่าง ๆ
4. กำหนดจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม การกำหนดจุดมุ่งหมายการผลิตสื่อ ควรกำหนดเป็นจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมเพื่อให้สามารถตรวจสอบผลได้
5. วิเคราะห์และจัดทำเนื้อหา โดยนำเนื้อหาที่จะผลิตสื่อมาวิเคราะห์หาความเหมาะสมในการจัดรูปแบบการนำเสนอและจัดลำดับเรื่องราว
6. เลือกประเภทสื่อที่จะผลิต เนื้อหาหนึ่ง ๆ อาจผลิตสื่อได้หลายประเภท ในการตัดสินใจว่าจะผลิตเป็นสื่อประเภทใดนั้น จะต้องนำมาพิจารณาหาความเหมาะสมอย่างรอบคอบ โดยพิจารณาองค์ประกอบเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการผลิต ลักษณะของเนื้อหา ขีดความสามารถในการผลิตของหน่วยงานผลิตหรือผู้ผลิต เป็นต้น
7. ผลิตสื่อ กระบวนการผลิตสื่อจะต้องแตกต่างกันไปตามประเภทของสื่อ เช่น สื่อประเภทเรื่องราวต่อเนื่อง ก็จะต้องจัดทำบัตรเรื่อง เขียนบท ถ่ายทำ บันทึกเสียง ถ้าเป็นสื่อประเภทวัสดุสามิติ ก็ต้องเขียนโครงร่างการออกแบบ ทำพิมพ์เขียวก่อน เป็นต้น
8. ทดลองเบื้องต้น เป็นการทดลองเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องเบื้องต้น เช่น ภาษา ขนาด สัดส่วน และคุณภาพทางเทคนิคอื่น ๆ เป็นต้น อาจทำเป็นขั้นตอนย่อย ๆ เป็นต้นว่า ทดลอง 1 คน 3 คน 6 คน
9. ทดลองภาคสนาม เป็นการนำสื่อไปทดลองกับกลุ่มผู้เรียนจริง แล้วเก็บรวบรวมข้อมูล ประสิทธิภาพของสื่อนั้น ๆ เพื่อแก้ไขปรับปรุงให้ดี ก่อนการนำออกไปใช้จริง
10. การนำไปใช้และปรับปรุง การนำสื่อที่ผ่านการทดลองภาคสนามแล้วไปใช้อาจจะยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง เมื่อนำไปใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน จึงควรแก้ไขปรับปรุงเป็นระยะ


อ้างอิง:
กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : ภาควิชา โสตทัศนศึกษาคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531.
จริยา เหนียนเฉลย. สื่อการสอนเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ, 2538.
วารินทร์ รัศมีพรหม. สื่อการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอน
ร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, 2531